Troll โทล ภาพยนตร์เรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวของ Nora Tidemann (Ine Marie Wilmann) นักธรณีวิทยาหนุ่มผู้ค้นคว้าฟอสซิลของสัตว์โบราณ เธอได้รับการว่าจ้างจากรัฐบาลให้สืบสวนปรากฏการณ์ประหลาดในภูเขาของนอร์เวย์ การระเบิดอย่างกะทันหันในหุบเขาทำให้สัตว์ประหลาดในตำนาน “โทรลล์” ตื่นขึ้น เธอต้องขอความช่วยเหลือจากพ่อของเธอ โทเบียส ไทด์มันน์ (การ์ด บี. ไอด์สโวลด์) ชายผู้หมกมุ่นอยู่กับการค้นหาโทรลล์ยักษ์มานานหลายปี ที่จะมารวมตัวกันและสำรวจความจริงว่าทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องราวทั้งหมดจะจบลงอย่างไร? ทุกคนต้องเห็นด้วยตาของตัวเอง วันนี้ “Troll” ฉายแล้ววันนี้ใน Netflix พร้อมพากย์ไทย (รับชม Netflix บนกล่อง TrueID ได้แล้ววันนี้)
Troll โทล สปอย
Troll โทล สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องบอกให้ทุกคนเข้าใจกันก่อนว่า ไม่ได้เป็นแนวไซไฟเทพนิยายเหมือนที่ใครหลายคนคิดไว้ เนื่องด้วยตัวยักษ์โทรลล์เป็นเรื่องเล่าในตำนาน พอคนเห็นหน้าหนังเลยอาจคิดว่าจะไปแนวนั้น (ตอนแรกผมก็คิดแบบนั้น) แต่กลับกลายเป็นว่าหนังเรื่องนี้เขาเลือกมาในแนวทางของหนังมอนส์เตอร์ อารมณ์แบบ Gozilla ประมาณนั้น คือมนุษย์ไม่สามารถสื่อสารหรือทำความเข้าใจกับสิ่งมีชีวิตนี้ได้ ทำได้แค่เพียงเฝ้าดูพฤติกรรมและคอยระงับป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายแรง ทั้งปมปัญหาของเรื่อง การดำเนินเรื่องต่างๆ คือมาในแนวหนังมอนส์เตอร์สูตรสำเร็จเลย เหมือนนั่งดู Gozilla ภาคแรกที่เปลี่ยนจากน้องก็อตพ่นลำแสงนิวเคลียร์กลายเป็นยักษ์หินที่กลัวแสงแดดแทน
ก็ถือว่าทีมงานพยายามเฟ้นหาไอเดียที่แปลกใหม่มาเล่น ในขณะที่ฮอลลีวูดพากันสร้างหนังตัวประหลาดยักษ์ออกมาเต็มไปหมดแล้ว ทั้ง ไดโนเสาร์ คิงคอง และก็อดซิลลา ด้วยความที่เป็นหนังจากยุโรป ก็เลยเลือกหยิบ โทรลล์ ยักษ์โบราณในตำนานที่ชนชาติตะวันตกรู้จักกันดี ให้มีชีวิตขึ้นมา แล้วออกมาเพ่นพ่านป่วนเมืองเสียเลย
การเลือกเอาโทรลล์มาเป็นจุดขายนั้นยังไม่ช้ำนัก เพราะคอหนังฮอลลีวูดก็เคยเห็นแค่โทรลล์ โผล่มาหน่อย ๆ ใน Harry Potter and the Sorcerer’s Stone (2001) แค่นั้น แล้วก็มาในภาพยักษ์ตัวเขียวเหมือน Shrek เสียมากกว่า หลังจากนั้นก็มี Trollhunter (2010) หนังสัญชาตินอร์เวย์เช่นเดียวกัน ที่มาในโทนจริงจัง แต่ออกไปแนวสยองขวัญ เล่นกับภาพจากกล้องแฮนด์เฮลด์ ฉะนั้นโทรลล์ในอุตสาหกรรมหนังก็ยังถือว่าแปลกใหม่ แล้วยังรู้จักกันทั่วโลก แต่สิ่งที่อาทักยังหลีกหนีไม่ได้ก็คือรูปแบบการเล่าเรื่องที่ยังคงยึดถือขนบเดิม ๆ ในหนังตัวประหลาดยักษ์ทั้งตัวเอกที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ และตัวร้ายที่เป็นนักการเมืองผู้มีอิทธิพล
ตัวเรื่องดำเนินแบบง่ายๆ เรื่อยๆ บทที่เขียนมาก็อยู่ในระดับกลางๆ ไม่ได้ถึงกับแย่แต่ก็ยังดีไม่พอที่จะทำให้คนดูรู้สึกอินไปกับเรื่องราว คืออธิบายง่ายๆ ว่าตอนดูจบก็รู้สึกเฉยๆ คือหนังแทบไม่ได้สร้างอารมณ์ร่วมอะไรให้คนดูเท่าไหร่เลย คือมันมาในโทนเดิมตลอดทั้งเรื่อง เรียบๆ เฉยๆ การดำเนินเรื่องก็ไม่ได้ถึงกับน่าเบื่อจนแย่นะ เพราะยังมีฉากยักษ์โทรลล์ออกมาให้เราเห็นเป็นช่วงๆ แทบตลอดทั้งเรื่อง แต่มันก็ไม่ได้น่าติดตามหรือน่าดึงดูดอะไรเป็นพิเศษ ทุกอย่างมันธรรมดาไปหมด ซึ่งบอกตามตรงว่าหากปรับบทให้ดีกว่านี้หรือสร้างเหตุการณ์ซักอย่างที่มันน่าติดตามมาเป็นพล็อตหลัก หนังเรื่องนี้คงจะเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมอีกเรื่องหนึ่งเลย เพราะนอกจากส่วนนี้แล้วส่วนอื่นๆ ล้วนทำได้ดีจนเกิดความคาดหมายไปด้วยซ้ำ
บทหนังเหมือนสร้างข้อจำกัดให้กับตัวเอง แบบหาทางออกสวย ๆ ไม่ได้ เมื่อเขียนออกมาว่า มนุษย์พาความเจริญมารุกพื้นที่ของโทรลล์ ทำให้โทรลล์เหมือนเป็นตัวแทนของธรรมชาติออกมาร้องทุกข์ เป็นการวางตำแหน่งให้โทรลล์ไม่ใช่อสุรกายที่โหดร้าย แล้วก็เป็นอีกเรื่องที่มนุษย์อยู่ในสถานะตัวร้ายอีกแล้ว พอปูทางมาแบบนี้ โทรลล์ก็เลยดูมีความบริสุทธิ์น่าสงสาร โดนมนุษย์ย่ำยี ซ้ำยังมีฉากกองทัพใช้อาวุธหนักโจมตีโทรลล์ ที่แสดงท่าทางกรีดร้อง เจ็บปวด เอาล่ะสิ เลือกมาทางนี้แล้วจะไปยังไงต่อดี จะให้คนดูเอาใจช่วยฝ่ายไหนดี
พอกำหนดภาพลักษณ์ให้โทรลล์เป็นลุงแก่ ๆ ดูน่าสงสาร ออกมาเรียกร้องความยุติธรรม ตั้งแต่นั้น หนังก็ไม่เหลือความระทึกอีกต่อไป เพราะเราไม่เห็นความน่ากลัวในตัวโทรลล์ แม้กระทั่งฉากที่โทรลล์ไล่ล่ารถของโนราที่ขับหนีนั้น ก็เหมือนตัวละครฝ่ายดีไล่ตามตัวละครฝ่ายดี มั่นใจได้แน่ว่าไม่มีใครเป็นอะไร อารมณ์มันต่างกับฉากทีเร็กซ์วิ่งไล่รถลิบลับ อันนั้นลุ้นกันตีนจิกพื้นเลย หรือฉากที่เด็กน้อยในสวนสนุก ที่ภาพและดนตรีก็พยายามบิลต์อารมณ์ให้ดูระทึก แต่คนดูก็เดาทางได้แล้วล่ะ ว่าชะตากรรมหนูน้อยจะเป็นอย่างไร
Troll โทล เป็นความพยายามอีกครั้งของผู้กำกับ รอร์ อาทัก (Roar Uthuag) ผู้กำกับดาวรุ่งจากนอร์เวย์ หลังจากมี The Wave (2015) หนังคลื่นยักษ์ถล่มโลกเป็นผลงานสร้างชื่อ ได้เป็นตัวแทนหนังจากนอร์เวย์ไปเข้าชิงออสการ์ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศ แล้วก็เป็นใบเบิกทางให้เขาได้เข้าสู่ฮอลลีวูด ได้รับหน้าที่กุมบังเหียน Tombraider (2018) ที่กลายเป็นทั้งภาครีบูต และภาคดับฝันที่จะได้คืนชีพ ลารา ครอฟต์ ขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้ผู้กำกับอาทักต้องหวนกลับคืนนอร์เวย์บ้านเกิด แต่ก็ยังคงเล่นใหญ่สไตล์เดิม คราวนี้ไม่เล่นกับอุบัติภัยธรรมชาติล่ะ แต่เล่นกับยักษ์จริง ๆ เลย ด้วยการหยิบเรื่องราวของ โทรลล์ ยักษ์ในตำนานฝรั่ง ให้มีตัวตนจริง ๆ มาบุกเมืองกันไปเลย ไม่มีการเปิดเผยว่ารอบนี้ใช้ทุนสร้างไปเท่าไหร่ แต่จากหน้าหนังที่เห็นทั้งงานซีจี และโปรดักชันที่เป็นสเกลใหญ่ก็น่าจะไม่น้อยละ